Search for:
หน้าแรก
โครงสร้าง
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
สำนักงาน กสทช. เขต
ติดต่อเรา
หน้าแรก
โครงสร้าง
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
สำนักงาน กสทช. เขต
ติดต่อเรา
เว็บไซต์สำนักงาน กสทช.
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
Office of National Broadcasting and Telecommunications Commission
สำนักงาน กสทช. ภาค 4
Search for:
หน้าแรก
>
ข่าวประชาสัมพันธ์
>
กสทช. ร่วมกับ ๓ มหาวิทยาลัย แถลงผลการศึกษาผลกระทบ : การยุติโทรทัศน์ระบบแอนะล็อค
บันทึกโดย :
กสทช. ภาค ๔
   
หมายเลขโทรศัพท์ :
-
วันที่บันทึก : 25/03/2559
กสทช. ร่วมกับ ๓ มหาวิทยาลัย แถลงผลการศึกษาผลกระทบ : การยุติโทรทัศน์ระบบแอนะล็อค
วันนี้ (๒๕ มีนาคม ๒๕๕๙) สำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด แถลงผลการดำเนินการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการยุติโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก และการศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับการยุติโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกต่อผู้บริโภค ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี และร้อยเอ็ด ณ โรงแรมเดอะศุโกศล กรุงเทพฯ โดยมีนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. ด้านส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและคุ้มครองผู้บริโภค และคณะทำงานของมหาวิทยาลัยทั้ง ๓ แห่งเป็นผู้แถลงผลการดำเนินการดังกล่าว และมีผู้ประกอบการดิจิตอลทีวี ผู้ประกอบการโครงข่าย ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟัง
นางสาวสุภิญญาฯ กล่าวว่า สำนักงาน กสทช. ได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด ดำเนินการโครงการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการยุติโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกต่อผู้บริโภค และการศึกษาผลกระทบในจังหวัดเชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี และร้อยเอ็ด เพื่อรองรับและคุ้มครองประชาชนผู้บริโภคในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับชมโทรทัศน์ระบบดิจิตอลตามแผนการยุติการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อก (Analog Switch off: ASO) ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) ซึ่งเป็นรายแรกที่มีการยุติการรับส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ ในระบบแอนะล็อก ทั้งนี้ ตามแผนการยุติการให้บริการโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกเริ่มต้นใน ๓ พื้นที่ ได้แก่ อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ยุติเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ และ จ.ร้อยเอ็ด ยุติเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๙
การดำเนินการโครงการที่ทั้ง ๓ มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับ สำนักงาน กสทช. เป็นการมุ่ง ให้เกิดการสร้างความเข้าใจและศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับการยุติโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกต่อผู้บริโภคไปพร้อมกัน รูปแบบการดำเนินการมีทั้งการเก็บข้อมูลในพื้นที่ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนและระดมความคิดเห็น โดยมี
การดำเนินการในระหว่างเดือนตุลาคม ๒๕๕๘ – กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ซึ่งขณะนี้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
มีผลการศึกษาและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มากทั้งต่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิตอลและการคุ้มครองผู้บริโภค
ผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พบว่า ประชาชนในพื้นที่มีความคาดหวังว่าจะได้รับความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับการยุติโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกมากขึ้น และมีความคาดหวังต่อดิจิตอลทีวี ว่า จะเป็นทีวีที่ดี มีคุณภาพ ส่งสัญญาณได้ชัดเจน ครอบคลุม อีกทั้งคาดหวังให้ สำนักงาน กสทช. เร่งประชาสัมพันธ์เรื่องดิจิตอลทีวี และการแจกคูปอง ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน ชัดเจน
ในส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภคนั้น แบ่งผลการศึกษาออกเป็น ๔ ด้าน
๑) ด้านเทคนิกการรับส่งสัญญาณ และอุปกรณ์ ประชาชนยังขาดความรู้ในเรื่องนี้ จึงมีข้อเสนอให้มีการทำคู่มือการใช้งานแจกให้ครัวเรือน เสริมกับการที่วิทยาลัยการอาชีพฝางมาช่วยติดตั้ง และอยากให้มีนโยบายรับแลกทีวีเก่ากับทีวีดิจิตอล หรือแลกอุปกรณ์ดาวเทียมกับทีวีดิจิตอล เพื่อลดค่าใช้จ่ายของประชาชน
๒) ด้านการประชาสัมพันธ์และการแจกคูปอง ยังขาดการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึง มีปัญหาในการแจกคูปอง มีข้อเสนอให้เพิ่มการประชาสัมพันธ์ โดยให้ผู้นำชุมชนเป็นกระบอกเสียง พิจารณาเพิ่มสิทธิแก่บ้านเลขที่เดียวแต่มีหลายครัวเรือน และให้กลุ่มชาติพันธุ์ หรือไร้สัญชาติ ให้มีสิทธิ์ได้รับคูปองด้วย
๓) ด้านผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง พบว่าไม่มีผลกระทบมากนัก แต่ควรมีการบังคับใช้กฎหมายให้ดิจิตอลทีวีมีการเรียงช่องตามที่ กสทช. กำหนด
๔) ด้านเนื้อหาและรูปแบบรายการที่คาดหวัง ประชาชนคาดหวังต่อดิจิตอลทีวีค่อนข้างสูง ว่าจะมีข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นกลาง เชื่อถือได้ ลดเวลาโฆษณาลง มีละครที่มีเนื้อหารุนแรงลดลง เพิ่มละครสร้างสรรค์ มีช่องรายการเฉพาะกลุ่มครอบคลุมกลุ่มผู้ชมซึ่งมีความหลากหลาย อีกทั้งอยากให้มีการสนับสนุนทีวีชุมชนเพื่อที่จะได้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่นของตนเองด้วย
ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด พบว่า ในส่วนของจังหวัดร้อยเอ็ดนั้นผลการศึกษาทั้ง ๔ ด้าน พบว่า
๑) ด้านเทคนิกการรับสัญญาณและอุปกรณ์ พบว่า ประชาชนมีปัญหาใน
การติดตั้งกล่องรับสัญญาณ เนื่องจากขาดความรู้ และขาดความเชื่อมั่นในทีวีดิจิตอลว่าจะใช้งานได้จริง เนื่องจากสัญญาณขาดหาย และเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เพิ่มค่าใช้จ่าย และมีข้อเสนอให้มีการแนะนำ
การติดตั้งหรือมีทีมงานให้บริการประชาชน รวมทั้งส่งคู่มือการติดตั้งให้ทุกครัวเรือน
๒) ด้านการประชาสัมพันธ์และการแจกคูปอง พบปัญหาว่าประชาชนยังไม่ได้รับคูปอง ขาดความเข้าใจในการแลก มีแหล่งให้แลกกล่องจำนวนน้อย ไม่ทราบข่าวประชาสัมพันธ์ โดยควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงและให้ความรู้กับประชาชนเรื่องดิจิตอลทีวีว่าจะส่งผลกับชีวิตอย่างไรด้วย
๓) ผลกระทบก่อนและหลัง ได้รับผลกระทบจากสัญญาณทีวีดิจิตอลที่ยังไม่ครอบคลุม ทำให้รับชมได้ไม่ชัดเจน ไม่ครบทุกช่อง แต่ได้รับประโยชน์คือ ได้รับชมช่องจำนวนมากขึ้น และมีรายการที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ควรเพิ่มรายการเกี่ยวกับข่าวสารและบันเทิงให้มากขึ้นด้วย
๔) ด้านเนื้อหารูปแบบรายการ ต้องการรายการเกี่ยวกับเด็ก การฝึกภาษา สาร คดี การนำเสนอความเดือดร้อนของประชาชน และรายการที่มีประโยชน์ต่างๆ ที่นำเสนอด้วยวิธีการที่ง่ายและชัดเจน รายการข่าวต้องนำเสนอความจริงที่ทันต่อเหตุการณ์ ลดเนื้อหารุนแรง ลดโฆษณา ควบคุมโฆษณาที่โอ้อวดเกินจริง เพิ่มคำบรรยาย หรือแปลภาษาต่างๆ เป็นต้น
ส่วน มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎ์ธานี ได้ศึกษาปัญหาและผลกระทบจากการยุติ
ระบบแอนะล็อกในพื้นที่จังหวัดสุราษฎ์ธานี พบว่า ประชาชนบางส่วนยังไม่ได้รับคูปอง ไม่ได้รับกล่องและขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการติดตั้งอุปกรณ์ ขาดการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เกี่ยวกับดิจิตอลทีวี ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ค่อนข้างสูง สัญญาณยังไม่เสถียร ตลอดจนรูปแบบรายการ ยังไม่ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน บางส่วนไม่เห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนมารับชมดิจิตอลทีวีเนื่องจากใช้กล่องรับสัญญาณโทรทัศน์ดาวเทียมและยังคงใช้การได้ สำหรับข้อเสนอแนะ ได้แก่ การให้ความรู้ในการติดตั้งกล่องรับสัญญาณ จัดหาช่างให้บริการติดตั้งอุปกรณ์ พัฒนาให้สัญญาณครอบคลุมทุกพื้นที่ มีจุดให้บริการรับแลกคูปอง โดยต้องประชาสัมพันธ์ให้ทราบอย่างทั่วถึง เพิ่มช่องรายการให้หลากหลาย เช่น รายการกีฬา รายการเด็ก ความรู้ท้องถิ่น และควรกำหนดช่วงเวลาของรายการให้ชัดเจน
“ผลการศึกษาผลกระทบและข้อเสนอแนะของผู้บริโภคที่นำเสนอในวันนี้ ก่อประโยชน์แก่ ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในเรื่องของการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนมีความเข้าใจและสนับสนุน
การเปลี่ยนผ่านโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกไปสู่ระบบดิจิตอล และยังเป็นข้อมูลในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ไม่ได้รับผลกระทบจากการยุติการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกในพื้นที่ที่กำลังจะยุติฯ ต่อไป รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการยุติระบบแอนะล็อกทั้งประเทศ ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ ด้วย เพื่อการก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลทีวีอย่างสมบูรณ์” กสทช. สุภิญญา กล่าวทิ้งท้าย